ติดต่อ

น้ำแร่กับข้อกำหนดด้านความปลอดภัย
ของน้ำดื่ม

March 11, 2025

คุณทราบหรือไม่ว่า น้ำแร่ถูกพบว่ามีการปนเปื้อนของสารเคมีที่เรียกว่า TFA (Trifluoroacetic Acid) ในน้ำแร่หลายยี่ห้อในยุโรป โดยพบว่า 7 จาก 19 ยี่ห้อมีปริมาณ TFA เกินขีดจำกัดที่สหภาพยุโรปกำหนดสำหรับสารกำจัดศัตรูพืชในน้ำดื่ม ความเข้มข้นของ TFA ที่พบมีตั้งแต่เกินขีดจำกัดการวัดปริมาณ (50 นาโนกรัมต่อลิตร) ไปจนถึงสูงถึง 3,200 นาโนกรัมต่อลิตร ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ถึง 32 เท่า

ในส่วนของสารปนเปื้อนอื่น ๆ สหภาพยุโรปได้แก้ไขระเบียบ Regulation (EU) 2023/915 โดยเพิ่มการกำหนดปริมาณตกค้างสูงสุดของสาร นิกเกิล (Nickel) ในอาหารบางประเภท ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เป็นต้นไป

สำหรับประเทศไทย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 454) พ.ศ. 2567 เรื่อง น้ำแร่ธรรมชาติ นั้น ก็ได้มีการปรับปรุงจากประกาศฉบับที่ 199 พ.ศ. 2543 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและกำหนดมาตรฐานและควบคุมคุณภาพน้ำแร่ธรรมชาติ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย มีคุณภาพดี และปราศจากการปนเปื้อน ทั้งยังช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล ซึ่งประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2568 เป็นต้นไป

โดยสาระสำคัญของประกาศฉบับนี้ คือ 

1. ยกระดับมาตรฐานคุณภาพน้ำแร่ธรรมชาติ
      - กำหนด คุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และจุลินทรีย์ เพื่อให้มั่นใจว่าน้ำแร่มีแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์และปลอดภัยจาก
         สารปนเปื้อน
      - ควบคุม ระดับโลหะหนัก สารพิษ และจุลินทรีย์อันตราย ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
2. คุ้มครองสุขภาพผู้บริโภค
      - ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจาก การปนเปื้อนของสารเคมีและจุลินทรีย์ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
      - ควบคุมกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์ให้มีมาตรฐานสูงสุด
3. ป้องกันการแอบอ้างและสร้างความโปร่งใสให้กับตลาดน้ำแร่
      - ควบคุม การโฆษณาและฉลาก ของผลิตภัณฑ์น้ำแร่ธรรมชาติ เพื่อป้องกันการแอบอ้างสรรพคุณเกินจริง
      - ระบุแหล่งที่มาของน้ำแร่อย่างชัดเจนเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบได้
4. สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและการค้าระหว่างประเทศ
      - ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับมาตรฐานขององค์กรระหว่างประเทศ เช่น Codex Alimentarius และ EU
         Regulations
      - ส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำแร่ไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
5. ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำแร่อย่างยั่งยืน
      - ส่งเสริมการจัดการแหล่งน้ำแร่อย่างเป็นระบบเพื่อ ป้องกันการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกินขีดจำกัด
      - สนับสนุนอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เอสจีเอส (SGS) ประเทศไทย เป็นผู้นำด้านการทดสอบ การตรวจสอบ และการรับรองระบบในระดับสากล โดยให้บริการที่ครอบคลุมในหลายอุตสาหกรรม รวมถึงการทดสอบคุณภาพน้ำดื่ม

บริการทดสอบน้ำดื่มแร่ของเอสจีเอส:

  • การทดสอบทางจุลชีววิทยา: เพื่อตรวจสอบการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • การวิเคราะห์ทางเคมี: เพื่อตรวจสอบปริมาณแร่ธาตุ สารเคมี และสารปนเปื้อนต่าง ๆ ในตัวอย่างน้ำ
  • การทดสอบเหล่านี้ใช้เทคโนโลยีและวิธีการวิเคราะห์ที่ทันสมัย เพื่อให้มั่นใจในความแม่นยำและความถูกต้องของผลลัพธ์

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
02 683 0541

mineral water testing by sgs

เกี่ยวกับ SGS

SGS คือ บริษัทชั้นนำระดับโลกด้านการทดสอบ การตรวจสอบ และการรับรองระบบ เราดำเนินงานผ่านเครือข่ายที่ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และสถานประกอบการกว่า 2,500 แห่ง ใน 115 ประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากทีมงานมืออาชีพที่มีความมุ่งมั่นกว่า 99,500 คน ด้วยประสบการณ์กว่า 145 ปีแห่งความเป็นเลิศในการให้บริการ เราผสานความแม่นยำและความเที่ยงตรงที่เป็นเอกลักษณ์ของบริษัทสวิส เพื่อช่วยให้องค์กรต่างๆ บรรลุมาตรฐานสูงสุดด้านคุณภาพ การปฏิบัติตามข้อกำหนด และความยั่งยืน

คำมั่นสัญญาของแบรนด์เรา – when you need to be sure – ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของเราในด้านความไว้วางใจ ความซื่อสัตย์ และความน่าเชื่อถือ ซึ่งช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมั่นใจ เราภูมิใจนำเสนอบริการจากผู้เชี่ยวชาญของเราภายใต้ชื่อ SGS และแบรนด์เฉพาะทางที่ได้รับความไว้วางใจ เช่น Brightsight, Bluesign, Maine Pointe และ Nutrasource

SGS เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SIX Swiss Exchange ภายใต้สัญลักษณ์ SGSN (ISIN CH0002497458, Reuters SGSN.S, Bloomberg SGSN:SW)

บทความที่เกี่ยวข้อง

แครอท การผลิต อุตสาหกรรม อาหาร
ข่าวสารองค์กรในประเทศMarch 07, 2025

เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด ขอแสดงความยินดีกับ บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในโอกาสได้รับการรับรองมาตรฐานสากล FSSC 22000, GHPs, HACCP และ ISO 45001

SGS Thailand ขอแสดงความยินดีกับ KCG Corporation ในการได้รับการรับรอง FSSC 22000, GHPs, HACCP และ ISO 45001 การรับรองเหล่านี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ KCG ในด้านความปลอดภัยของอาหาร สุขภาพ และความเป็นเลิศในการดำเนินงาน เราภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จนี้ และพร้อมสนับสนุน KCG ในเส้นทางสู่มาตรฐานระดับโลกต่อไป
 สายการผลิตเนื้อสัตว์โรงงานอาหาร
ข่าวธุรกิจFebruary 18, 2025

บทบาทของผู้บริหารในการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยด้านอาหาร: แนวทางจาก CODEX และ GFSI

ฝ่ายบริหารมีบทบาทสำคัญในการสร้างและรักษาวัฒนธรรมเชิงบวกด้านความปลอดภัยของอาหาร ดังที่ทั้ง CODEX Alimentarius และ Global Food Safety Initiative (GFSI) เน้นย้ำ ตามหลักการทั่วไปด้านสุขอนามัยอาหารของ CODEX Alimentarius (CXC 1-1969 R.2022) ความมุ่งมั่นของฝ่ายบริหารและบุคลากรทั้งหมดในการผลิตและการจัดการอาหารปลอดภัยเป็นพื้นฐานของความสำเร็จของระบบสุขอนามัยอาหาร ในทำนองเดียวกัน GFSI กำหนดวัฒนธรรมความปลอดภัยด้านอาหารว่าเป็นค่านิยม ความเชื่อ และบรรทัดฐานที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดและพฤติกรรมเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารภายในองค์กร GFSI สรุปมิติสำคัญ 5 ประการเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยด้านอาหารที่ยั่งยืน ได้แก่ วิสัยทัศน์และพันธกิจ บุคลากร ความสม่ำเสมอ ความสามารถในการปรับตัว และการตระหนักถึงอันตรายและความเสี่ยง
POPs อาจตกค้างในอาหาร
ข่าวสารองค์กรในประเทศFebruary 14, 2025

POPs สารพิษตกค้าง ภัยเงียบใกล้ตัวที่ควรรู้

POPs (Persistent Organic Pollutants) หรือ สารมลพิษอินทรีย์ที่ตกค้างยาวนาน เป็นสารเคมีที่มีความเป็นพิษสูง
ข้าวโพดในทุ่ง
ข่าวธุรกิจFebruary 14, 2025

การตรวจรับรอง FSMA FSVP และ FSMA QIC: ความแตกต่างจาก BRCGS Additional Module FSMA

กฎหมายการปรับปรุงความปลอดภัยด้านอาหารให้ทันสมัย (FSMA) ช่วยเพิ่มความปลอดภัยด้านอาหารของสหรัฐอเมริกา โดยกำหนดให้ผู้นำเข้าและซัพพลายเออร์จากต่างประเทศต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของ FDA FSVP (โปรแกรมการตรวจสอบซัพพลายเออร์ต่างประเทศ) ช่วยให้มั่นใจว่าอาหารที่นำเข้าเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยผ่านการตรวจสอบ การทดสอบ และการตรวจสอบ SGS ซึ่งได้รับการรับรองโดย ANAB ให้การรับรองที่ถูกต้องเป็นเวลา 1 ปี ช่วยให้ธุรกิจต่างๆ ขยายเข้าสู่ตลาดสหรัฐอเมริกา

ข่าวสารและข้อมูลเชิงลึก

  • บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด - สำนักงานใหญ่

238 TRR Tower, 19th-21st Floor, Naradhiwas Rajanagarindra Road,

Chong Nonsi, Yannawa, 10120,

กรุงเทพ, ประเทศไทย