ผู้บริหารมีส่วนสำคัญในการผลักดันองค์กรไปสู่ความความสำเร็จอย่างยั่งยืน จาก CODEX Alimentarius GENERAL PRINCIPLES OF FOOD HYGIENE CXC 1-1969 R.2022 ข้อกำหนด 5.1 ความมุ่งมั่นของฝ่ายบริหารระบุว่าการสร้างและรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมความปลอดภัยด้านอาหารเชิงบวกที่ตระหนักถึงความสำคัญของพฤติกรรมมนุษย์ในการจัดหาอาหารที่ปลอดภัยและเหมาะสมนั้น ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานในการทำงานที่ประสบความสำเร็จของระบบสุขอนามัยอาหารใดๆ
องค์ประกอบต่อไปนี้มีความสำคัญในการปลูกฝังวัฒนธรรมความปลอดภัยด้านอาหารเชิงบวก:
- ความมุ่งมั่นของฝ่ายบริหารและบุคลากรทั้งหมดในการผลิตและการจัดการอาหารที่ปลอดภัย
- ความเป็นผู้นำในการกำหนดทิศทางที่ถูกต้องและให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของอาหาร
- การตระหนักถึงความสำคัญของสุขอนามัยอาหารโดยบุคลากรทุกคนในธุรกิจอาหาร
- การสื่อสารที่เปิดกว้างและชัดเจนระหว่างบุคลากรทุกคนในธุรกิจอาหาร รวมถึงการสื่อสารเกี่ยวกับความเบี่ยงเบนและความคาดหวัง และ
- การมีทรัพยากรที่เพียงพอเพื่อให้แน่ใจว่าระบบสุขอนามัยอาหารจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
GFSI ให้นิยาม Food Safety Culture ว่า ค่านิยม ความเชื่อ และบรรทัดฐานร่วมกันที่ส่งผลต่อความคิดและพฤติกรรมเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารภายในและทั่วทั้งองค์กร
GFSI ได้จัดทำเอกสาร “A Culture of Food Safety. A position paper from the Global Food Safety Initiative.” เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับ GFSI เช่น เจ้าของกิจการ ผู้ผลิตอาหาร ห้างค้าปลีก ภัตตาคาร ได้ทราบความคิดและจุดยืนของ GFSI เกี่ยวกับ Food Safety Culture โดยเอกสารได้ระบุองค์ประกอบ 5 มิติที่จะช่วยให้องค์กรสร้างและดำรงรักษาวัฒนธรรมความปลอดภัยอาหารได้อย่างยั่งยืน ได้แก่
- มิติด้าน วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประกอบด้วย
- 1.1 โครงสร้างธุรกิจ คุณค่า และ จุดมุ่งหมาย
1.2 การกำหนดทิศทางและความคาดหวัง
1.3 ความเป็นผู้นำและการส่งข้อความ - มิติด้านบุคลากร ประกอบด้วย
- 2.1 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
2.2 การกำกับดูแล
2.3 การสื่อสาร
2.4 องค์กรแห่งการเรียนรู้
2.5 แรงจูงใจ รางวัล การยอมรับ - มิติด้านความสม่ำเสมอ
- 3.1 ความรับผิดชอบ
3.2 การวัดประสิทธิภาพ
3.3 การจัดทำเอกสาร - มิติด้านการปรับตัว
- 4.1 ความคาดหวังด้านความปลอดภัยอาหารและสถานะปัจจุบัน
4.2 ความคล่องตัว
4.3 การจัดการการเปลี่ยนแปลงและภาวะวิกฤต และการแก้ปัญหา - มิติด้านการตระหนักถึงอันตรายและความเสี่ยง
- 5.1 ข้อมูลอันตรายพื้นฐานและการศึกษา
5.2 การมีส่วนร่วมของพนักงาน
5.3 ตรวจสอบอันตรายและการรับรู้ความเสี่ยง
GFSI ได้เขียนรายละเอียดของแต่ละมิติรวมถึงแนวทางคำถาม ซึ่งองค์กรสามารถนำไปใช้ต่อยอดในการประเมินตนเองว่ามี food safety culture level หรือ maturity level ในระดับใด และสามารถจัดทำแผนเพื่อพัฒนาปรับปรุง food safety culture ขององค์กรในมิติใดต่อไป

จากการปรับปรุงข้อกำหนดของ CODEX Alimentarius GENERAL PRINCIPLES OF FOOD HYGIENE ที่เพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับ food safety culture เข้ามาในปี 2020 นำไปสู่การปรับปรุง ข้อกำหนด Benchmarking Requirements V.2020 ของ GFSI และข้อกำหนดของมาตรฐานต่างๆ เช่น BRCGS IFS FSSC ที่กล่าวถึงความรับผิดชอบของผู้บริหารในการสร้างและรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมความปลอดภัยด้านอาหารเชิงบวก ปัจจุบันบัน GFSI ได้ปรับปรุงข้อกำหนด Benchmarking Requirements เป็น version 2024 และเปิดให้ Certification Programme Owners (CPOs) เข้าสู่กระบวนการ benchmarking ได้ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2025 ซึ่งจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนของมาตรฐานต่างๆในอนาคต
ข้อกำหนด food safety culture ใน GFSI benchmarking requirement V.2020 เปรียบเทียบกับปี 2024 มีรายละเอียดดังนี้
- BMRs 2020
ต้องมีหลักฐานแสดงความมุ่งมั่นของผู้บริหารระดับสูง ในการจัดทำ การนำไปใช้ การบำรุงรักษา และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ของระบบการจัดการความปลอดภัยอาหาร รวมถึงวัฒนธรรมความปลอดภัยอาหาร ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบไปด้วย: การ - BMRs 2024
- ต้องมีความมุ่งมั่นจากผู้บริหารระดับสูงในการกำหนดทิศทาง สร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากร และการจัดหาทรัพยากรอย่างเพียงพอ เพื่อรักษาวัฒนธรรมความปลอดภัยอาหารเชิงบวกและปรับปรุงการจัดการความปลอดภัยด้านอาหารอย่างต่อเนื่อง
- บุคลากรทุกคน ต้องแสดงความมุ่งมั่นที่จะผลิตและจัดการอาหารอย่างปลอดภัย
- ต้องมีการจัดทำแผนการประเมินวัฒนธรรมความปลอดภัยอาหาร การนำไปใช้ และบำรุงรักษา เพื่อระบุสิ่งที่ต้องปรับปรุง เพื่อขับเคลื่อนพฤติกรรมเชิงบวก ซึ่งแผนการประเมินวัฒนธรรมความปลอดภัยอาหาร อย่างน้อยต้องประกอบไปด้วย การสื่อสาร การฝึกอบรม การรับ feedback จากพนักงาน และการวัดประสิทธิภาพกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยอาหาร
SQF Edition 10 มีกำหนดการเผยแพร่ในเดือนกรกฎาคม 2025 โดยจะเริ่มการตรวจประเมิน edition ใหม่ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2026 สามารถติดตามข้อมูล update ได้จาก https://www.sqfi.com/
เกี่ยวกับ SGS
เอสจีเอส บริษัทชั้นนำของโลก ด้านการทดสอบ การตรวจสอบและรับรองระบบ เราดำเนินงานผ่านเครือข่ายห้องปฏิบัติการและสถานประกอบการกว่า 2,700 แห่งใน 119 ประเทศ โดยมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญกว่า 99,250 คน ที่พร้อมให้บริการด้วยประสบการณ์การที่เป็นเลิศมากกว่า 145 ปี เราผสมผสานความแม่นยำและความถูกต้องซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของบริษัทสวิส เพื่อช่วยให้องค์กรต่างๆ บรรลุมาตรฐานสูงสุดในด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และการปฏิบัติตามข้อกำหนด
คำมั่นสัญญาเราที่ว่า เมื่อคุณต้องการความมั่นใจ (when you need to be sure) สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของเราในเรื่องความน่าเชื่อถือ ความซื่อสัตย์ และความไว้วางใจ ซึ่งช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างมั่นใจ เราภูมิใจที่ได้มอบบริการที่เชี่ยวชาญของเราภายใต้ชื่อเอสจีเอสและแบรนด์เฉพาะทางที่ได้รับความไว้วางใจ เช่น Brightsight, Bluesign, Maine Pointe และ Nutrasource
เอสจีเอสเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SIX Swiss Exchange ภายใต้สัญลักษณ์ SGSN (ISIN CH0002497458, Reuters SGSN.S, Bloomberg SGSN:SW)
238 TRR Tower, 19th-21st Floor, Naradhiwas Rajanagarindra Road,
Chong Nonsi, Yannawa, 10120,